ไปรษณีย์ไทย เปิดแผนการดำเนินงานปี 2566 รุกปรับบทบาทองค์กรผ่านการเป็น “ผู้ให้บริการไปรษณีย์และโลจิสติกส์ครบวงจร – ยั่งยืนตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” โดยมี 4 โซลูชันใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกธุรกิจ และคนไทย ได้แก่ โซลูชัน Global Cross Border Service ที่มุ่งเชื่อมโยงธุรกิจไทยไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก โซลูชันด้านการขนส่งด้วยดาต้า ที่จะนำข้อมูลที่ไหลเวียนทั้งหมดในองค์กรมาเสริมศักยภาพบริการ โซลูชันด้านการขนส่งที่สร้างความพึงพอใจในระดับสูงสุดด้วยมาตรการ Zero Complain และโซลูชันเสริมแกร่งเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจไปรษณีย์ไทย ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งที่มีขององค์กรเข้าไปสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรพันธมิตรในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน นอกจากนี้ ยังเผยถึงแผนการหารายได้ใหม่จาก New S -Curve อาทิ กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มขนส่ง – ค้าปลีก กลุ่มไปรษณียภัณฑ์เดิมที่ผ่านการทรานส์ฟอร์มด้วยเทคโนโลยี
–ซัมซุง เผยแผน “Bringing Calm to Our Connected World” เป้าหมายหลักในงาน CES 2023
ดร.ดนันท์ สุภัทรพันธุ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด กล่าวว่า ธุรกิจโลจิสติกส์ยังคงเป็นเส้นเลือดใหญ่ทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีกและ อีคอมเมิร์ซ และเพื่อเป็นการยกระดับการขนส่งและโจจิสติกส์ในปี 2566 ให้สามารถเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจทุกระดับ รวมถึงทั่วโลกได้มากขึ้น ไปรษณีย์ไทยจึงได้ปรับบทบาทองค์กรด้วยการเป็น “ผู้ให้บริการไปรษณีย์และโลจิสติกส์ครบวงจร – ยั่งยืน ตามมาตรฐานสากลด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล” พร้อมมุ่งสร้างปรากฏการณ์การดำเนินงานด้วยการเป็น “โซลูชัน” ที่สำคัญสำหรับทุกภาคส่วน ดังนี้
ด้วยบริการขนส่ง และโลจิสติกส์แบบครบวงจร โดยมุ่งเชื่อมโยงธุรกิจไทยไปสู่ภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก จะมีบริการรองรับทั้งคลังสินค้า Fulfillment ระหว่างประเทศบนพื้นที่เขตปลอดอากรกิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พัฒนาโครงการคลังสินค้าบริการระหว่างประเทศ (Bonded Warehouse) บริการอื่นๆ เช่น EMS World ePacket ระหว่างประเทศ การลดขั้นตอนที่ผู้ประกอบการไม่ต้องดำเนินการด้วยตนเอง เช่น พิธีทางศุลกากร พร้อมทั้งการดึงพันธมิตรระดับโลก เช่น อีเบย์ อะเมซอน มาเป็นช่องทางค้าขายให้กับอีคอมเมิร์ซไทย รวมถึงใช้ประโยชน์จากเครือข่ายทั้งทางภาคพื้น ระบบราง เรือ และอากาศ เชื่อมต่อกับทุกกลุ่มธุรกิจ
ผ่านการนำข้อมูลที่ไหลเวียนทั้งหมดในองค์กรมาใช้สร้างและเสริมศักยภาพของบริการ ซึ่งจะมีปรากฏการณ์ที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบจัดการด้านเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Prompt Post) บริการประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Timestamp) บริการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (KYC) การใช้พื้นที่คลังไปรษณีย์ที่มีอยู่ทั่วประเทศเปิดเป็นพื้นที่ให้บริการ Fulfillment ระดับจังหวัด ระบบหลังบ้านที่ช่วยอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วและมีมาตรฐาน การเป็นตัวแทนขายสินค้าให้กับธุรกิจค้าปลีก / รับชำระค่าบริการต่าง ๆ ถึงหน้าบ้าน การพัฒนาระบบ CRM และ Big Data เพื่อรวบรวมข้อมูลของลูกค้าในทุกมิติและนำมาวิเคราะห์ จัดกลุ่ม และนำเสนอสินค้า/บริการความต้องการลูกค้าแต่ละกลุ่ม การขยาย “ทีมขาย ทีมขน และทีมแคร์” ดูแลให้คำปรึกษาตั้งแต่เรื่องการใช้ระบบขนส่งที่เหมาะสม ราคา การออกแบบบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการทำการตลาดบนแพลตฟอร์มของไปรษณีย์ไทย
ลดข้อร้องเรียนต่าง ๆ เช่น พัสดุสูญหาย คอมเม้นท์บนโซเชียลมีเดียให้เป็นศูนย์และเพิ่มศักยภาพในส่วนที่มีความได้เปรียบให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งกว่าเดิม เช่น เครือข่ายที่ครอบคลุมมากกว่า 20,000 แห่ง ทั้งจาก เครือข่ายประเภทตัวแทน จุด EMS Point ผู้ให้บริการขนส่งรายใหญ่ในตลาด ซึ่งจะทำให้การฝากส่งสิ่งของมีความสะดวกทุกพื้นที่ การนำจ่ายที่มีความรวดเร็ว แม่นยำด้วยระบบ Cross Navigate Networking ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็จะดูแลพัสดุทุกชิ้นให้เดินทางไปถึงปลายทางด้วยความปลอดภัย
ซึ่งเป็นการนำจุดแข็งที่มีขององค์กรเข้าไปสร้างประโยชน์ให้กับองค์กรพันธมิตรในรูปแบบเศรษฐกิจแบ่งปัน ไม่ว่าจะเป็น FUZE POST ที่จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับ JWD และ FLASH ให้บริการขนส่งควบคุมอุณหภูมิ กลุ่มที่อยู่อาศัยที่ร่วมมือกับ AP เชื่อมต่อระบบของไปรษณีย์ไทย เรียกและนัดหมายให้เข้าไปรับพัสดุ และพร้อมต่อยอดไปเครืออสังหาริมทรัพย์อื่น การเชื่อมโยง Rider Services กับผู้ให้บริการ Robinhood และในอนาคตกับรายอื่น ๆเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ และขยายช่องทางการส่งสินค้าของไปรษณีย์ไทย ความร่วมมือแพลตฟอร์ม Telemedicine ในการจัดส่งยารักษาโรค สถาบันการเงินกับการมอบสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่อง รวมถึงยังมีแผนดำเนินธุรกิจในอีกหลายสาขา เพื่อให้ทุกอุตสาหกรรมใช้ประโยชน์จากไปรษณีย์ไทยได้อย่างเต็มที่
ดร.ดนันท์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สัดส่วนรายได้องค์กรในปัจจุบันแบ่งเป็น กลุ่มบริการขนส่งและ โลจิสติกส์ 47.62 % กลุ่มไปรษณียภัณฑ์ 31.26 % กลุ่มบริการระหว่างประเทศ 15.94 % กลุ่มธุรกิจการเงิน 1.78% กลุ่มธุรกิจค้าปลีก 2.78% และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ 0.66 % และนอกเหนือจากการสร้างรายได้จากกลุ่มดังกล่าวแล้ว ไปรษณีย์ยังมีแผนในการแสวงหารายได้จากน่านน้ำใหม่ทางธุรกิจ ซึ่งเป็น New S- Curve ขององค์กร ทั้งการเพิ่มมูลค่าให้ธุรกิจไปรษณียภัณฑ์เดิม เช่น แสตมป์ NFT บริการจัดส่งสื่อโฆษณาทางไปรษณีย์ หรือ Advertising Mail ที่สามารถจัดส่งสิ่งพิมพ์โฆษณา หรือสินค้าตัวอย่าง ให้แก่กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ในรูปแบบ Direct Mail บริการ e-Timestamp ประทับรับรองเวลาอิเล็กทรอนิกส์ โดยปัจจุบันมีลูกค้า เช่น หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาล สถานศึกษา เป็นต้น
กลุ่มขนส่ง – ค้าปลีก เช่น กล่อง On Demand ที่สามารถออกแบบและผลิตได้ตามความต้องการของประเภทธุรกิจ วางจำหน่าย – โฆษณาสินค้าตามไปรษณีย์ต่าง ๆ การขยายพื้นที่บริการ FUZE POST เพื่อรองรับการขนส่งสินค้าควบคุมอุณหภูมิ กลุ่มธุรกิจระหว่างประเทศ เช่น คลังสินค้าบริการระหว่างประเทศ (Bonded Warehouse) สำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ และผู้ใช้บริการทั่วไป กลุ่มธุรกิจการเงิน อาทิ บริการประกันภัยออนไลน์ การให้สินเชื่อร่วมกับสถาบันการเงิน การทำธุรกรรมการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเติมเงิน ชำระเงิน โอนเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ยังมุ่งพลิกโฉมภาพใหญ่ทางเศรษฐกิจของประเทศด้วยดิจิทัลและเทคโนโลยี ผ่านการเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำคัญคือ โครงการ Digital Post ID เปลี่ยนระบบการระบุตำแหน่งที่อยู่บนกล่องซองจากแบบเดิมให้เป็นที่อยู่ดิจิทัล ในรูปแบบ QR Code โดยทุกภาคส่วนจะได้รับการรักษาความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย อีกทั้งมุ่งเป็นขนส่งรายแรกที่จะ นำยานยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในระบบงานไปรษณีย์ และระบบนำจ่าย จำนวนกว่า 600 คัน ทดแทนรถเดิม ที่หมดอายุใช้งานในปี 2566 สอดรับกับความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมโลก
“ขนส่งและโลจิสติกส์เป็นธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง ผู้ให้บริการทุกรายจำเป็นต้องปรับตัวและพัฒนาบริการให้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้ามากที่สุด โดยเป้าหมายในปี 2566 ของไปรษณีย์ไทยคือการอยู่เคียงข้างคนไทยในฐานะ “หน่วยงานการสื่อสารและขนส่งของชาติ” เน้นการทำงานเชิงรุก เข้าหาลูกค้า พัฒนาบริการให้ตรงกับความต้องการของทุกภาคส่วน พร้อมดูแลคนไทยเพื่อให้ทุกคนไว้วางใจและนึกถึงไปรษณีย์ไทยทุกครั้งที่ต้องการใช้บริการ นอกจากนี้ ยังมีเป้าหมายที่จะเพิ่มผลิตภาพและคุณภาพของ ทุกกระบวนการทำงาน การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยการเข้าถึงกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น การพัฒนาบริการใหม่จากฐานทรัพยากรที่มีอยู่ และสุดท้ายคือการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาสนับสนุนให้เกิดความสะดวก เพิ่มโอกาสทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น” ดร.ดนันท์ กล่าวสรุป
โค้ก โดยกลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย สร้างความฮือฮาให้กับตลาดเครื่องดื่มอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว "โค้ก" ซีโร่ กลิ่นวานิลลา ความอร่อยใหม่ที่ผสานความซ่าส์อันเป็นเอกลักษณ์ของ "โค้ก" เข้ากับความหอมหวานละมุนละไมของวานิลลาได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคือมาในสูตรไม่มีน้ำตาล ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่ม Gen…
บริษัท ไซโก้ เอปสัน คอร์ปอเรชั่น (Epson) ประกาศแต่งตั้ง โยชิดะ จุนคิชิ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการและตัวแทนผู้อำนวยการ (President and Representative Director) และประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ (Chief…
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดย กองสิ่งแวดล้อม ฝ่ายพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดำเนินงานลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในการก่อสร้าง ช่วงเวลากลางคืน การก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ตลอดแนวเส้นทางโครงการฯ โดยเริ่มตั้งแต่จุดก่อสร้าง Cut…
LINE MAN ประกาศความร่วมมือครั้งสำคัญกับ Lotus’s และ Lotus’s go fresh ขยายฐานบริการ LINE MAN MART ให้ครอบคลุมกว่า 1,400 สาขาทั่วประเทศ…
พฤกษา ผนึกกำลัง โรงพยาบาลวิมุต มอบสิทธิพิเศษสุดเอ็กซ์คลูซีฟ และกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพครบวงจรให้ลูกบ้านตลอดปี 2568 ภายใต้แนวคิด "สุขภาพดีเริ่มต้นที่บ้าน" จิตชญา ตู้จินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง…
ออเนอร์ (HONOR) ประกาศความสำเร็จครั้งสำคัญของสมาร์ทโฟนระดับแฟลกชิป HONOR Magic7 Pro 5G ที่สร้างยอดขายเติบโตสูงถึง 2.4 เท่า นับตั้งแต่เปิดให้พรีออเดอร์เมื่อวันที่ 11-21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568…