TikTok เผย 13 บัญชีเข้าข่าย GPPPA พร้อมเตรียมเปิด Election Centers ในเดือนเมษายน

TikTok เผย 13 บัญชีเข้าข่าย GPPPA พร้อมเตรียมเปิด Election Center ในเดือนเมษายน

หลังจากการยุบสภาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ที่ผ่านมา นักการเมืองต่างเริ่มต้นหาเสียงผ่านช่องทางต่างๆ ก่อนจะถึงวันเลือกตั้งทั่วไปในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม ซึ่ง TikTok นั้นน่าจะเป็นอีกช่องทางที่นักการเมืองเข้ามาใช้โปรโมทแคมเปญหาเสียง

กว่า 1 เดือนที่ผ่านมา TikTok ได้ประกาศเตรียมความพร้อมแพลตฟอร์มสำหรับการเลือกตั้งทั่วไป 2566 จนวันนี้ผ่านไปกว่า 1 เดือน ได้กลับมาอัปเดตเพิ่มเติมอีกครั้งว่า มีอะไรที่ได้ทำไปแล้วบ้าง

ปิดฉากงาน ADFEST 2023 กับมิติการทำโฆษณาที่เปลี่ยนไป

“สำหรับ TikTok เราให้ความสำคัญในการตรวจสอบข้อความที่เป็นเท็จ และนำข้อมูลเหล่านั้นออกจากแพลตฟอร์ม โดยใช้ Community Guidelines เป็นเกณฑ์ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาต่อกฎระเบียบของแพลตฟอร์ม สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้มีสิ่งที่ต้องระวัง เช่น การสร้างข่าวปลอม และการสร้างความเกลียดชัง เป็นต้น” ชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy – Thailand, TikTok กล่าว

ชนิดา ยังยกตัวอย่างของเนื้อหาที่ขัดต่อหลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guidelines) ที่น่าจะตรงกับแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง เช่น พฤติกรรมความเกลียดชัง, วาทกรรมสร้างความเกลียดชัง, การละเมิดลิขสิทธิ์, เนื้อหาที่น่าสะเทือนขวัญและมีความโจ่งแจ้ง

โดย TikTok นั้นมีความพร้อมรับมือกับเนื้อหาที่ขัดต่อหลักเกณฑ์โดยใช้ Machine Learning เข้ามาช่วยตรวจสอบ และยังมีทีมงานเข้ามาช่วยเสริม รวมไปถึงการเปิดช่องทางผู้ใช้สามารถช่วยตรวจสอบคลิปที่สุ่มเสี่ยงต่อการทำผิดกฎอีกด้วย

TikTok เผย 13 บัญชีเข้าข่าย GPPPA พร้อมเตรียมเปิด Election Center ในเดือนเมษายน

เตรียมเปิด Election Centers

สำหรับการเลือกตั้งในครั้งนี้ TikTok ทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ อย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับการเลือกตั้ง 2566 ที่จะเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังร่วมมือกับสื่อต่างประเทศอย่าง AFP และหน่วยงานอย่าง Lead Stories เพื่อส่งต้อข้อมูลที่ถูกต้อง รวมถึงการทำแคมเปญร่วมกับ โคแฟค (COFACT) สร้างศูนย์รวมข้อมูลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัย

ชนิดา กล่าวว่า Election Centers จะเป็นศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้งโดยข้อมูลอ้างอิงจาก กกต. ซึ่งหลังจากนี้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลการเลือกตั้งได้ผ่านช่องค้นหา (Search) และพิมพ์คีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับ “เลือกตั้ง 2566” เข้าไป จะสามารถ้ข้าถึงข้อมูลได้ โดยข้อมูลทั้งหมดจะพร้อมเผยแพร่ในเดือนเมษายน 2566

นอกจากนี้ยังจำกัดสิทธิ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง โดยกลุ่มคนเหล่านี้สามารถทำคอนเทนต์ผ่าน TikTok ได้ปกติ ลงคลิปการหาเสียงได้ปกติ แต่จะห้ามการโฆษษา การระดมทุนรณรงค์หาเสียง (เลือกตั้ง) รวมถึงห้ามใช้เพลงที่เป้นคอมเมอร์เชียลเหมือนกับการทำคลิปเพื่อความบันเทิงอีกด้วย และหากลงคลิปที่เกี่ยวข้องกับการสร้างพฤติกรรมการเกลียดชัง คลิปจะถูกถอดออกจากระบบ หากยังทำผิดต่อเนื่องก็จะถูกลบบัญชีออกจากระบบ ซึ่ง TikTok มีนโยบายห้ามการโฆษณาทางการเมืองมานานแล้ว

ส่วน 13 บัญชี ที่ถือว่าเป็นบัญชีของรัฐบาล นักการเมือง และพรรคการเมือง (GPPPA: Government, Politician, and Political Party Account) มีดังนี้

1.หน่วยงานระดับชาติ/หน่วยงานที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง เช่น หน่วยงาน/กระทรวง/สำนักงาน
2.หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและระดับจังหวัด/ระดับรัฐ
3.ผู้สมัครรับเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้งในระดับสหพันธรัฐ/ระดับชาติ
4.เจ้าหน้าที่รัฐในระดับสหพันธรัฐ/ระดับชาติ เช่น รัฐมนตรีและเอกอัครราชทูต
5.โฆษกอย่างเป็นทางการหรือสมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโสของผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับชาติ/ระดับรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้ง/ได้รับการแต่งตั้ง ตัวอย่างเช่น หัวหน้าคณะทำงาน ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์หาเสียง หรือผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทัล
6.โฆษกอย่างเป็นทางการ สมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือผู้บริหารระดับสูงของพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประธานพรรคหรือผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน
7.พรรคการเมือง
8.สมาชิกราชวงศ์ที่มีอำนาจบริหารราชการ
9.สมาคมทางการเมืองของเยาวชน (สำหรับพรรคการเมืองหลักตามดุลยพินิจของนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาค)
10.อดีตประมุขของรัฐ / หัวหน้ารัฐบาล
11.คณะกรรมการปฏิบัติการทางการเมือง (PACs) หรือเทียบเท่าเฉพาะประเทศ
12.ผู้สมัครรับเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้งในระดับรัฐ/จังหวัดและท้องถิ่นตามที่กำหนดโดยนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาคตามปัจจัยทางการตลาด
13.เจ้าหน้าที่รัฐในระดับรัฐ/จังหวัดและท้องถิ่นตามที่กำหนดโดยนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาคตามปัจจัยทางการตลาด

“ทั้งนี้ TikTok จะทำเทรนนิง GPPPA โดยทาง กกต. เป็นผู้ส่งเทียบเชิญไปยังพรรคการเมือง เพื่อให้มีความเข้าใจกับกฎเกณฑ์ของ TikTok ไปในทิศทางเดียวกันว่าอะไรที่ทำได้หรีอทำไม่ได้” ชนิดา กล่าวทิ้งท้าย

Scroll to Top