การประชุม Ultra-Broadband Forum 2021 (หรือ UBBF 2021) ซึ่งเป็นการประชุมในหัวข้อเกี่ยวกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงครั้งที่ 7 ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วที่ดูไบ โดยมีคณะกรรมาธิการ UN Broadband Commission และหัวเว่ยร่วมเป็นเจ้าภาพ การประชุมดังกล่าวถือเป็นงานที่เกี่ยวกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตประจำที่ซึ่งใหญ่ที่สุดในโลกนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ขยายการเชื่อมต่อที่ครอบคลุม ขับเคลื่อนสู่การเติบโต (Extend Connectivity, Drive Growth)” โดยภายในงานมีผู้ให้บริการชั้นนำระดับโลกรวมถึงผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดในหลากหลายหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานของเครือข่าย ระบบเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาค กรณีศึกษาจากความสำเร็จของการนำแอปพลิเคชันต่างๆ ไปใช้งาน รวมถึงการขยายตัวของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งปันแนวปฏิบัติ และความร่วมมือทางธุรกิจในเชิงลึกที่มากยิ่งขึ้นในอนาคต
งาน UBBF ปีนี้จัดขึ้นเป็นเวลา 2 วัน ประกอบด้วยการปาฐกถาและการบรรยายเกี่ยวกับเครือข่ายประจำหลากหลายหัวข้อ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากทั้งภาครัฐ หน่วยงานต่าง ๆ ผู้ให้บริการเครือข่าย รวมถึงตัวแทนจากภาคการศึกษาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดในเรื่องของสถานะปัจจุบันในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาก (ultra-broadband network) รวมทั้งความท้าทายใหม่ๆ ที่กำลังเผชิญ และร่วมกันแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกรวมถึงกรณีศึกษาต่างๆ
ทั้งนี้ สังคมทั่วโลกได้นิยามถึงมูลค่าที่เกิดจากการเชื่อมต่อขึ้นมาใหม่ และการพัฒนาของภาคอุตสาหกรรมก็กำลังจะเกิดขึ้นตามมา โดยนายเผิง ซง ประธานฝ่ายการตลาดและโซลูชันสำหรับลูกค้าโครงข่ายสากล จากหัวเว่ย ได้ขยายความถึงโมเดล C.A.F (Coverage หรือความครอบคลุม Architecture หรือโครงสร้างสถาปัตยกรรม และ Fusion หรือการผสมผสาน) จากหัวเว่ย โดยกล่าวถึงความสำคัญของการขยายความครอบคลุมของการเชื่อมต่อทั้งในบ้านและหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงต้องทำงานร่วมกับคลาวด์ได้ เพื่อให้ “สามารถตอบสนองความต้องการทั้งในปัจจุบันและในอนาคต” ซึ่งการสร้างความสามารถในการแข่งขันจากการเชื่อมต่อด้วยโมเดล C.A.F นั้นถือเป็นกุญแจสำคัญของการสร้างการเติบโตใหม่ ๆ
-ความครอบคลุม: การเชื่อมต่อที่ขยายไปในทุกๆ ห้องจะเพิ่มมูลค่าของอินเทอร์เน็ตบ้านได้อย่างยิ่งยวด เพราะความต้องการใช้งานที่เปลี่ยนไปจากทั้งผู้ใช้งานตามบ้านและองค์กร ส่งผลให้ผู้ให้บริการจำเป็นต้องขยายการเชื่อมต่อไปทุกๆ ห้อง ทุกอุปกรณ์ และสามารถใช้งานได้กับทุกระบบของธุรกิจ และเปลี่ยนจากการเชื่อมต่อแบบส่วนตัว (private line) ไปเป็นเครือข่ายแบบส่วนตัว (private network) ให้ได้ เพื่อรองรับการครอบคลุมที่กว้างขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นและนำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย
-โครงสร้างสถาปัตยกรรม: สถาปัตยกรรมเครือข่ายถือเป็นเสาหลักของความสำเร็จทางธุรกิจ ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต สถาปัตยกรรมสำหรับอนาคตจำเป็นจะต้องมีเครือข่ายที่ยืดหยุ่น ให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากกว่า และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (OPEX) ที่ต่ำกว่าเดิม
-การผสมผสาน: การเชื่อมต่อจะนำมาซึ่งโอกาสใหม่ๆ มากมาย การสร้างศักยภาพในการแข่งขันของเครือข่ายโดยใช้โมเดล C.A.F นั้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ให้บริการเครือข่าย การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลนั้นเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมไอซีที และปฏิเสธไม่ได้ว่าคลาวด์เป็นหัวใจสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัล แต่การเชื่อมต่อก็ยังคงมีบทบาทสำคัญ เพราะหากปราศจากการเชื่อมต่อ “คลาวด์จะเป็นเพียงแค่เกาะของข้อมูลที่ตั้งอยู่เฉยๆ” เผ่ง กล่าวว่า “การผสมผสาน” เป็นสิ่งสำคัญเพราะว่าการเชื่อมต่อต้องให้ความสำคัญกับคลาวด์ และช่วยให้องค์กรย้ายการใช้งานไปยังคลาวด์ได้
เควิน หู ประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ย อธิบายว่าการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลนั้น แม้ว่าจะเพิ่มความสะดวกสบาย แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายให้กับเครือข่ายที่มีอยู่เดิมด้วย เช่น ในปัจจุบันห้องอุปกรณ์ CO นั้นมีขนาดที่จำกัด ดังนั้นจึงเป็นการยากที่การที่ตัวส่งสัญญาณที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะสามารถให้บริการได้อย่างครอบคลุมเต็มรูปแบบ
การทำงานของบริการแบบไฮบริดในปัจจุบันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรับมือกับความต้องการบริการที่ต่างกันออกไปหลายรูปแบบ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ปัญหาของความท้าทายของเครือข่ายที่ลูกค้าพบในช่วงของการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลนี้ หัวเว่ยจึงเปิดตัว Intelligent Cloud-Network Solution ซึ่งเป็นโซลูชันที่มาพร้อมกับความสามารถใหม่ 4 ประการ ได้แก่ all-service super edge CO, tenant-level hard slicing, SRv6-powered network programmability และ cloud-network integration โซลูชันนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าสูงสุดให้กับทรัพยากรที่ผู้ให้บริการเครือข่ายมีอยู่แล้ว และเพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคลาวด์และเครือข่ายโดยรวม
ปัจจุบัน ผู้ให้บริการทั่วโลกกำลังเดินหน้าลงทุนในระบบไฟเบอร์ออฟติคัล เพื่อเพิ่มคุณภาพอินเตอร์เน็ตและพัฒนาการบริการ เช่น FTTR และการเชื่อมต่อส่วนตัวแบบพรีเมียมผ่าน OTN เพื่อเพิ่มรายได้จากเครือข่ายประจำที่ และเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีออฟติคัลทั้งหมดนั้นกำลังกลายเป็นแนวทางที่ทั้งอุตสาหกรรมกำลังมุ่งใช้ไปในทางเดียวกัน เพราะเป็นพื้นฐานของเมืองอัจฉริยะที่รักษาสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ตาม การสร้างเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยีออฟติคัลทั้งหมดสำหรับเมืองอัจฉริยะนั้นมีความยากลำบาก ทั้งจากเรื่องราคาที่สูง การเตรียมการบริการที่นานกว่า และการบริหารจัดการที่ซับซ้อน นอกจากนี้ การเปิดรับอุปกรณ์ในฝั่งผู้ใช้งาน นวัตกรรมด้านเครือข่าย และการพัฒนาบริการใหม่ๆ ก็ยังเป็นประเด็นที่น่ากังวลเช่นกัน
AIS จับมือ OPPO เปิดตัว OPPO Find X8 Series สมาร์ทโฟนแฟลกชิป รุ่นล่าสุด ในราคาเริ่มต้นเพียง 18,999 บาท พร้อมมอบข้อเสนอสุดพิเศษให้กับลูกค้า AIS…
ออเนอร์ กรุ๊ป เปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมสุดหรู "Once Wongamat" บนทำเลทองวงศ์อมาตย์ ชูจุดเด่นการออกแบบที่ผสานความหรูหรา และความยั่งยืนเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ กลุ่มลูกค้าไฮเอนด์ ออเนอร์ กรุ๊ป (Honour Group)…
บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด มอบประกันอุบัติเหตุจากกรุงไทย แอกซ่า ฟรี 30 ต้อนรับเทศกาลปีใหม่ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม - 31 ธันวาคม 2567…
พฤกษา โฮลดิ้ง ไม่หยุดยั้งที่จะสร้างสรรค์สังคมแห่งโอกาสที่เท่าเทียม เดินหน้าสู่ปีที่ 6 ของโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA” โดยผนึกกำลังร่วมกับ โรงพยาบาลวิมุต และ อินโนโฮม คอนสตรัคชัน ในเครือ…
บาร์บีคิวพลาซ่า จับมือ วิตอะเดย์ สร้างปรากฏการณ์ใหม่ในวงการน้ำดื่มผสมวิตามิน ส่ง "วิตอะเดย์ กะหล่ำปลี วอเตอร์" รสชาติสุดว้าว พร้อมดึงพี่ GON ร่วมสร้างสีสัน เอาใจสายเฮลท์ตี้ แถมโปรโมชั่นสุดคุ้มชุดประหยัดหมู 2…
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…