ผู้กำกับสารคดีชาวญี่ปุ่นเผยเบื้องหลังความสำเร็จของ หัวเว่ย ประเทศไทย

ผู้กำกับสารคดีชาวญี่ปุ่นเผยเบื้องหลังความสำเร็จของ หัวเว่ย ประเทศไทย

ภายใต้ความกดดันจากสหรัฐอเมริกาในการคว่ำบาตรอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานอุตสาหกรรมและความปลอดภัย (BIS) กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกา ได้สั่งให้บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ จำกัด พร้อมทั้งบริษัทในเครือของหัวเว่ยที่ไม่ใช่สัญชาติสหรัฐฯ อีก 68 บริษัท ขึ้นบัญชี BIS Entity List เพื่อกำหนดว่าการส่งออกอุปกรณ์ใดๆ ของสหรัฐฯ จำเป็นต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาล

จากสถานการณ์ครั้งนี้ ผู้กำกับชื่อดังชาวญี่ปุ่น เรียว ทาเคอูชิ (Ryo Takeuchi) จึงได้จัดทำสารคดีที่จะพาผู้ชมไปสัมผัสเรื่องราวเบื้องหลัง ณ สำนักงานใหญ่ของหัวเว่ย รวมถึงส่วนธุรกิจต่างๆ พร้อมพูดคุยกับพนักงานและอดีตพนักงานของบริษัทเพื่อทำความเข้าใจถึงแง่มุมที่เป็นเอกลักษณ์ภายในบริษัทหัวเว่ย

ทายาทลัมโบร์กีนีรุ่นที่ 3 เตรียมรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า Iso UNO-X สัญชาติอิตาลี บุกตลาดเอเชีย
NTT DATA ส่งแพลตฟอร์ม TradeWaltz ลงตลาด เปิดเทรนด์ใหม่บล็อกเชน เชื่อมต่อข้าม Ecosystem

สารคดีที่ชื่อว่า “100 faces of Huawei” พาไปเจาะลึกเรื่องราวของบริษัทหัวเว่ย และชีวิตจริงของพนักงานในช่วงเวลาที่ท้าทาย แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างแรงบันดาลใจ ซึ่งทำให้เห็นว่าหลังจากบริษัทฯถูกขึ้นบัญชี BIS Entity List หัวเว่ยต้องพยายามเปลี่ยนแปลงและปรับตัวท่ามกลางโจทย์ที่ท้าทาย รวมทั้งอาศัยจุดแข็งทั้งหมดที่มีเพื่อมาพัฒนาธุรกิจและอีโคซิสเต็มใหม่ในช่วงเวลาสั้นๆ ความท้าทายและโจทย์ใหม่ที่หัวเว่ยต้องเผชิญ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรับมือกับวิกฤต และวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ยอมแพ้จากมุมมองของพนักงานทั่วไป นักพัฒนา รวมไปถึงลูกค้าของหัวเว่ย

ในตอนสุดท้ายของซีซั่นที่สองของสารคดี ทีมงานถ่ายทำได้เดินทางไปยังประเทศจีน ญี่ปุ่น และไทย สำหรับเรื่องราวในประเทศไทย เป็นเรื่องราวการพัฒนาและเติบโตของพนักงานในไทย และการสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็มด้วยเทคโนโลยีล่าสุด ที่มีทั้ง 5G คลาวด์ AI และดิจิทัลพาวเวอร์

สารคดีตอนดังกล่าวได้เล่าเรื่องถึงความร่วมมือระหว่างหัวเว่ยและโรงพยาบาลศิริราช โดยหัวเว่ยได้นำเทคโนโลยี 5G คลาวด์ และ AI ช่วยยกระดับบริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลรวมถึงประสิทธิภาพโดยรวม ทำให้เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน โดย รศ.นพ.เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ได้กล่าวกับทีมงานว่า ต้องขอบคุณเทคโนโลยีของหัวเว่ยที่ช่วยให้โรงพยาบาลมอบบริการที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G ซึ่งรวมถึงรถพยาบาล 5G และรถอัจฉริยะไร้คนขับ 5G

ในเรื่องที่สอง พนักงานชาวไทยได้พาชมเรื่องราวเกี่ยวกับหัวเว่ยเชื่อมต่อสัญญาณอินเทอร์เน็ตและอุปกรณ์ที่ช่วยให้ชาวบ้านในพื้นที่ห่างไกลสามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านออนไลน์ได้ ด้วยความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากหัวเว่ย ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามราคาตลาดผ่านอินเทอร์เน็ตและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางธุรกิจได้แบบเรียลไทม์

นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2542 หัวเว่ยมุ่งมั่นในพันธกิจ “เติบโตไปพร้อมกับประเทศไทย และร่วมสนับสนุนประเทศไทย” โดยได้ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลของไทยมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยเพิ่มคุณค่าทางสังคม

ปัจจุบัน หัวเว่ย ประเทศไทย มีพนักงานกว่า 2,600 คน โดยเป็นพนักงานชาวไทยร้อยละ 86 อีกทั้งยังมีส่วนช่วยสร้างงานกว่า 8,500 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ช่วยพัฒนาบุคลากรไอซีทีในประเทศไทยด้วยการเปิดตัว Huawei ASEAN Academy สาขาประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2562 โดยได้อบรมบุคลากรไปแล้วกว่า 41,000 คน รวมถึงองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลางอีกกว่า 2,000 องค์กรในระยะเวลาสองปีที่ผ่านมา โดยนายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ ประเทศไทย ได้เผยในระหว่างการให้สัมภาษณ์กับผู้กำกับสารคดีว่า อีโคซิสเต็มของนวัตกรรมและบุคลากรถือเป็นรากฐานของนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนให้หัวเว่ยลงทุนอย่างต่อเนื่องในตลาดแต่ละประเทศมาโดยตลอด

ในปี พ.ศ. 2564 หัวเว่ยได้รับรางวัล “พีเอ็ม ดิจิทัล อวอร์ด” ประเภท “Digital International Corporation of the Year” จากนายกรัฐมนตรีไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่บริษัทได้รับเกียรติในการรับรางวัลนี้ และยังเป็นบริษัทข้ามชาติเพียงบริษัทเดียวที่ได้รับรางวัลดังกล่าวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในปีเดียวกันนี้เอง หัวเว่ยยังได้รับรางวัลสุดยอดแบรนด์ที่ผู้บริโภคชื่นชม (Most Admirable Brand) และรางวัลสุดยอดบริษัทไทย (Thailand TOP Company Award) ในสาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคที่ยอดเยี่ยมที่สุด (Best Digital Transformation Infrastructure) อีกด้วย

Scroll to Top