ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ (DDproperty) เว็บไซต์สื่อกลางซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์อันดับ 1 ของไทย เผยผลสำรวจ Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด ชี้โควิด-19 ฉุดรายได้ กำลังซื้อเปราะบาง แต่ยังเห็นความต้องการอสังหาฯ ที่ฟังก์ชันครบ โปรโมชันดี ข้อเสนอโดน จากโครงการ อสังหาฯ ที่ไม่ตอบโจทย์ความต้องการอยู่อาศัย-ทำงาน ลูกค้าพร้อมเซย์กู๊ดบาย
จากผลสำรวจของ Thailand Consumer Sentiment Study รอบล่าสุด เผย 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจ (75%) ยังอยู่ระหว่างชะลอการซื้อ-ขายอสังงหาฯ ซึ่งเป็นผลกระทบหลัก ๆ จากโควิด-19 ขณะเดียวกันยังมองเห็นความไม่แน่นอนเรื่องราคาอสังหาฯ และเชื่อว่าธนาคารจะรัดเข็มขัดมาตรการสินเชื่อ ส่งผลต่อการพิจารณาและโอกาสกู้ผ่านของลูกค้ายากขึ้น แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นทางตันของภาคอสังหาฯ เพราะจากผลสำรวจยังพบว่า 3 ใน 4 ของคนไทยตั้งใจซื้ออสังหาฯ ในอนาคต และกลุ่มนักลงทุนถึง 15% ยังมองว่าช่วงเวลานี้เป็นโอกาสที่ดีในการลงทุน
นางกมลภัทร แสวงกิจ ผู้จัดการใหญ่ ประจำประเทศไทย ดีดีพร็อพเพอร์ตี้ กล่าวว่า จากผลสำรวจ Thailand Consumer Sentiment Study ฉบับล่าสุด เห็นได้ชัดว่า โควิด-19 ส่งผลอย่างมากถึงการตัดสินใจของผู้บริโภคที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยพบว่า ผู้บริโภคถึง 75% ชะลอการซื้อ-ขายอสังหาฯ ออกไป ส่วนอีก 32% มองว่าราคาที่อยู่อาศัยไม่แน่นอน 31% เชื่อว่าการขอสินเชื่อบ้านยากขึ้นหรือใช้เวลานานกว่าจะได้รับการอนุมัติ 24% หันไปให้ความสนใจกับที่อยู่อาศัยที่เสริมเรื่องสุขภาพและความสะอาด และ 20% ให้ความเห็นว่าเข้าไปดูโครงการที่สนใจยากขึ้น
ปัจจัยด้านราคา รายละเอียดสินเชื่อ และทำเล ยังคงเป็นปัจจัยหลักที่คนใช้พิจารณาเลือกที่อยู่อาศัย แต่จากผลสำรวจยังสะท้อนให้เห็นปัจจัยใหม่ ๆ โดยเฉพาะเรื่องรูปแบบโครงการที่ผู้บริโภคให้ความสนใจ ที่ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่มีการทำงานที่บ้านมากขึ้น โดยพบว่ามี 5 สิ่งที่ผู้บริโภคใช้เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกที่อยู่อาศัยที่เหมาะกับ Work from Home ในอนาคต คือ ผู้บริโภคถึง 82% ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม 65% ให้ความสำคัญกับสัญญาอินเตอร์เน็ตต้องเสถียร 64% ให้ความสำคัญกับฟังก์ชันในบ้านและสิ่งอำนวยความสะดวก อีก 50% ให้ความสำคัญกับระบบระบายอากาศและความร้อน รวมถึงระบบประหยัดพลังงานอัจฉริยะ ส่วน 43% ให้ความสำคัญกับขนาดของที่อยู่อาศัยเป็นหลัก
แม้ว่าราคาเฉลี่ยของโครงการจะเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อบ้าน แต่หากโฟกัสไปที่แต่ละช่วงวัย พบว่า แต่ละช่วงมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์แตกต่างกัน โดยพบว่า
กลุ่มวัยเริ่มต้น อายุ 22-29 ปี ให้ความสำคัญกับเรื่องขนาดของที่อยู่อาศัยถึง 51% และ 48% มองเรื่องดีไซน์/การก่อสร้างที่เข้ากับไลฟ์สไตล์
กลุ่มวัยทำงาน อายุ 30-49 ปี ถึง 55% ให้ความสำคัญกับขนาดของที่อยู่อาศัยมาเป็นอันดับแรก และ 46% มองเรื่องส่วนกลางภายในโครงการเป็นหลัก
กลุ่มวัยใกล้เกษียณ อายุ 50-59 ปี ถึง 53% ให้ความสำคัญกับส่วนกลางภายในโครงการ และ 51% เลือกที่ขนาดของที่อยู่อาศัย
กลุ่มผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไป ถึง 53% มองที่ขนาดของที่อยู่อาศัยและส่วนกลางภายในโครงการ ส่วน 28% มองเรื่องดีไซน์/การก่อสร้างเข้ากับไลฟ์สไตล์เป็นหลัก
อสังหาฯ ไทยถึงทางตันแล้วจริงหรือ
แม้ว่าภาพรวมของผลสำรวจจะพบว่า ทุกช่วงวัยจะมีการชะลอการซื้อ-ขายอสังหาฯ ออกไปในช่วงโควิด-19 แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนอายุ 22-29 ปี และ 30-39 ปี ตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยอย่างเร่งด่วน โดยหลีกเลี่ยงการซื้อที่อยู่อาศัยในโซนที่มีการติดเชื้อหากโฟกัสไปที่กลุ่มนักลงทุนแม้ว่า 3 ใน 5 ของกลุ่มนักลงทุน ลังเลที่จะลงทุนอสังหาฯ ในช่วงนี้ แต่ในขณะที่อีก 15% ของกลุ่มนักลงทุนมองว่าเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนอสังหาฯ เนื่องจากหลายโครงการจัดโปรโมชั่นมากมายในช่วงนี้
จากข้อมูลข้างต้นชี้ให้เห็นถึงความต้องการด้านที่อยู่อาศัยที่ยังไม่ลดหายไป แต่เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคในประเทศก็ค่อนข้างจะเปราะบางมาก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนหนึ่งมาจากภาระหนี้ของประชาชนบางกลุ่มที่อยู่ในระดับสูง สะท้อนจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ณ สิ้นปี 2562 สัดส่วนหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 79.8% ต่อจีดีพี และเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ทำให้ประชาชนบางกลุ่มได้รับผลกระทบจากการที่ต้องหยุดงานชั่วคราวและถูกเลิกจ้าง ทำให้รายได้ลดลง
จากปัจจัยดังกล่าวยิ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูง สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคคาดหวังคือ ให้ภาครัฐออกมาตรการช่วยเหลือเกี่ยวกับการซื้อที่อยู่อาศัย เพื่อกระตุ้นให้เกิดดีมานด์และการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น
โดยจากผลการสำรวจชี้ว่า สิ่งที่ผู้บริโภคอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยคือ ลดดอกเบี้ยสินเชื่อบ้านเพิ่ม มีมากถึง 79% หากโฟกัสไปที่แต่ละช่วงวัย พบว่า กลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน อายุ 22-29 ปี ต้องการภาครัฐออกมาตรการลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อบ้านหลังแรก ถัดมาในส่วนของกลุ่มผู้มีรายได้สูงที่มองว่าเป็นโอกาสดีที่จะลงทุนอสังหาฯ เนื่องจากราคาอสังหาฯ เทขาย ที่เหมาะแก่การลงทุน แต่ยังเล็งเห็นความเสี่ยงสูงที่ผลตอบแทนจะไม่คุ้มทุนเนื่องจากปัจจัยด้านรายได้ของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย จึงอยากจะเสนอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาเลื่อนมาตรการควบคุมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือ LTV ออกไปก่อนเป็นการชั่วคราว และเพิ่มสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ที่เข้ามาลงทุน
จากผลสำรวจจะเห็นภาพความต้องการที่อยู่อาศัยที่ยังมีอยู่แม้จะเป็นช่วงโควิด-19 แต่รูปแบบโครงการที่ไปรอดจะต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคให้ได้เท่านั้น นอกจากนี้การสนับสนุนของภาครัฐก็คือสิ่งที่ผู้บริโภคคาดหวัง ซึ่งการกระตุ้นภาคอสังหาฯ จะยิ่งช่วยให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ เพราะภาคอสังหาฯ นั้นถือเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศให้ไปต่อได้” นางกมลภัทร กล่าวเพิ่มเติม
ภาพประกอบจาก Pixabay
เคยไหม? เลื่อนฟีดโซเชียลมีเดียแล้วเจอคลิปโป๊ ๆ ของคนดัง หรือแม้แต่คนรู้จัก แต่เอะใจว่า...มันดูแปลก ๆ เหมือนไม่ใช่ตัวจริง นั่นอาจเป็นเพราะคุณกำลังเผชิญหน้ากับ "Deepfake Porn" ภัยร้ายยุค AI ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในขณะนี้ Deepfake…
คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศปรับ Meta Platforms เป็นเงิน 798 ล้านยูโร (ประมาณ 840 ล้านดอลลาร์) จากการละเมิดกฎหมายต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรป โดย Meta ถูกกล่าวหาว่าใช้ Facebook Marketplace…
ข่าวดีสำหรับสาวก Apple! MacBook Pro ลำโพงเสีย ซ่อมง่าย จ่ายน้อยกว่าเดิม เมื่อ Apple ประกาศเปลี่ยนวิธีการซ่อมแซม ไม่ต้องเปลี่ยน Top Case ทั้งชุด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้ผู้ใช้…
LINE ประเทศไทย จัดงานสัมมนา "Food & Beverage Industry Insights" เจาะลึกเทรนด์ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มยุคใหม่ เผย 4 กลยุทธ์สำคัญ พร้อมโซลูชันครบวงจร ช่วยผู้ประกอบการไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันที่ดุเดือด…
Thai SmartLynx สายการบินเช่าเหมาลำ เดินหน้ารุกตลาดไทยเต็มสูบ ประกาศเตรียมนำเข้าเครื่องบิน Airbus A320 ลำแรก ต้นปี 2568 รับอานิสงส์ท่องเที่ยวฟื้นตัว ตั้งเป้าช่วยสายการบินไทยเพิ่มศักยภาพ รับนักท่องเที่ยวทะลุ 40 ล้านคน…
เสียวหมี่ (Xiaomi) เดินหน้ารุกตลาด AIoT ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ส่งท้ายปีด้วยการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ 3 รุ่นรวด นำทัพโดยหุ่นยนต์ทำความสะอาดอัจฉริยะ Xiaomi Robot Vacuum X20 Max, กล้องวงจรปิดความละเอียดสูง…