เข้าใจ! ภาษี e-Service หนึ่งกลไกการค้ายุคดิจิทัล ที่ไม่ควรมองข้าม

ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรฯ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม e-Service ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้บริการต่างประเทศ แพลตฟอร์มต่างประเทศที่ไม่มีที่ตั้งถาวรในประเทศ (Permanent Establishment) และให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้รับบริการที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันทางการค้าระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและผู้ให้บริการในประเทศ ​

ปัจจุบันมากกว่า 60 ประเทศทั่วโลกได้มีมาตรการจัดเก็บภาษีทางอ้อมจากกิจกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล เช่น การจัดเก็บภาษีการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือภาษีการค้า (Sale Tax / Service Tax) จากบริการทางอิเล็กทรอนิกส์ข้ามประเทศ โดยแต่ละประเทศมีรูปแบบการจัดเก็บภาษีในแนวทางเดียวกันในลักษณะการจัดเก็บภาษีแบบ Vendor Collection Model ซึ่งกำหนดให้ผู้ให้บริการหรือแพลตฟอร์มในต่างประเทศต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีที่จัดเก็บจากการให้บริการในประเทศของผู้ใช้บริการ โดยรูปแบบการจัดเก็บภาษี e-Service ของไทยมีความคล้ายคลึงกับแนวทางของสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น

แต่การดำเนินการของแต่ละประเทศอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียดวิธีปฏิบัติขึ้นอยู่กับระบบภาษีและลักษณะธุรกิจในแต่ละประเทศ ซึ่งในส่วนของภาษี e-Service ของไทย เบื้องต้นกำหนดการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการที่มีรายรับการให้บริการในประเทศมากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นกรอบที่ไม่แตกต่างจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มกับกิจการในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องติดตามรายละเอียดการดำเนินการในระยะต่อไป รวมถึงยังต้องพิจารณาอย่างรอบด้านในประเด็นความเสี่ยงที่ไทยจะต้องเผชิญมาตรการตอบโต้ทางการค้าจากประเทศต้นทางของผู้ประกอบการต่างประเทศ เช่น กรณีที่สหรัฐอเมริกาจะนำเรื่องเข้าสู่การสอบสวนภายใต้มาตรา 301 (Section 301 of the Trade Act) เพื่อพิจารณาตอบโต้มาตรการทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป อินเดีย ฝรั่งเศส และอินโดนีเซีย ที่มีมาตรการจัดเก็บภาษีดิจิทัลจากกิจการต่างประเทศที่ส่วนใหญ่เป็นบริษัทสัญชาติอเมริกัน

เมื่อพิจารณาบริบทธุรกิจการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ของไทย การจัดเก็บภาษี e-Service คาดว่าจะครอบคลุม 3 ธุรกิจหลัก คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 42,000 ล้านบาท โดยคำนวณจากรายได้ภาษีที่ภาครัฐประเมินไว้ คือ 1) โฆษณาออนไลน์ เช่น โฆษณาผ่าน Social Media 2) ความบันเทิงออนไลน์ เช่น ภาพยนตร์ ดนตรี นิตยสาร เกมออนไลน์ และ 3) ตัวกลางบริการทางธุรกิจออนไลน์ เช่น แพลตฟอร์มจองโรงแรมที่พัก แพลตฟอร์ม Ride Hailing คลาวด์เซอร์วิส ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ยังมีศักยภาพของการเติบโตหลังโควิด-19 ขณะเดียวกันก็มีความเป็นไปได้ที่ขอบเขตของธุรกิจบริการอิเล็กทรอนิกส์จะขยายไปครอบคลุมธุรกิจเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มความต้องการใช้บริการของผู้บริโภคในอนาคต หรือที่เรียกว่า On-Demand Service

ในทางหนึ่งการจัดเก็บภาษี e-Service จะช่วยสร้างความเป็นธรรมสำหรับกิจการทั้งในและต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากผู้ให้บริการและแพลตฟอร์มต่างประเทศในธุรกิจข้างต้นส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการข้ามชาติรายใหญ่ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติตามข้อกฎหมายของแต่ละประเทศอยู่แล้ว ยิ่งหากกฎหมายนั้นไม่ได้ตั้งใจเลือกปฏิบัติให้แตกต่างจากกิจการในประเทศ การจัดเก็บภาษี e-Service จึงอาจจะไม่ส่งผลให้ Landscape ของธุรกิจนั้นๆ เปลี่ยนแปลงไป สำหรับเป้าหมายการส่งเสริมผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่ตอบโจทย์การใช้งานในยุคดิจิทัล คงจำเป็นต้องอาศัยอีกหลายปัจจัยสนับสนุนควบคู่กันในการสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากร และการยกระดับศักยภาพในการเชื่อมโยงตลาดระดับภูมิภาคและระดับโลกในรูปแบบ Glocalization (Globalization & Localization) ซึ่งผสมผสานจุดแข็งด้านความเข้าใจในวัฒนธรรมและพฤติกรรมผู้บริโภคในพื้นที่ เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการในประเทศที่ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งรับบริการจากผู้ให้บริการและแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยจ่ายค่าบริการในรูปของค่าโฆษณา ค่าการตลาด หรือค่านายหน้า อาจต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการผลักภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่แพลตฟอร์มต้องนำส่ง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ถึงแม้ผู้ประกอบการจะมีต้นทุนการใช้บริการที่เพิ่มขึ้น แต่เนื่องจากฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของแพลตฟอร์ม ทำให้ผู้ประกอบการไทยน่าจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสในการปรับเปลี่ยนค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องแบกรับภาระภาษีที่อาจถูกส่งผ่านมา มิเช่นนั้นก็อาจต้องเลือกผู้ใช้บริการรายอื่นแทน โดยชั่งน้ำหนักถึงผลดีและผลกระทบของทางเลือกต่างๆ อย่างคุ้มค่าที่สุด แต่สุดท้ายแล้วก็อาจส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการบางกลุ่มปรับเพิ่มขึ้น ตามระดับความยืดหยุ่นต่อราคาของผู้บริโภคต่อสินค้าและบริการแต่ละประเภท รวมถึงสภาพการแข่งขันในตลาดที่แตกต่างกัน

​กล่าวโดยสรุป การจัดเก็บภาษี e-Service สอดคล้องกับทิศทางเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศที่มีแนวโน้มเติบโตและการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ซึ่งนับเป็นหนึ่งกลไกในการสร้างระบบนิเวศที่จำเป็น อย่างไรก็ดี ผลของกฎหมายดังกล่าวในทางปฏิบัตินั้น สุดท้ายแล้วคงจะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อมูลและระบบการจัดเก็บภาษี ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ของธุรกิจ รวมถึงความเสี่ยงที่ไทยจะต้องเผชิญการตอบโต้ทางการค้าจากประเทศต้นทางของผู้ประกอบการต่างประเทศและผลกระทบต่อผู้บริโภคในประเทศประกอบด้วย

BizTalk NEWS

Recent Posts

vivo V50 เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกล้อง ZEISS 50MP ในราคาเริ่มต้น 15,999 บาท

เปิดตัว vivo V50 สมาร์ทโฟนรุ่นล่าสุดในตระกูล V Series ที่มาพร้อมคอนเซปต์ "ถ่ายที่รักอย่างโปร" ชูจุดเด่นกล้อง ZEISS ความละเอียด 50 ล้านพิกเซลรอบด้าน อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ AI…

2 hours ago

LINE MAN เผยเทรนด์ “ชาไทย Specialty” แรงจัด! ยอดสั่งพุ่ง 81% ร้านใหม่ผุด 205%

กระแสชาไทย Specialty ฟีเวอร์! ข้อมูลจาก LINE MAN เผยให้เห็นถึงการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของตลาด "ชาไทย Specialty" ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่มียอดสั่งซื้อทะยาน 81% ร้านใหม่ตบเท้าเปิดตัวเพิ่มขึ้นถึง…

5 hours ago

China Unicom to Blanket 300+ Cities with 5G-Advanced by 2025, While Thailand Leads APAC’s 5G Revolution

China Unicom has launched its ambitious 5G-Advanced Action Plan, setting the stage for a significant…

7 hours ago

AIS ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ เดินหน้าจัดระเบียบสายสื่อสาร ถนนวิทยุ สร้างมหานครสวยงาม ปลอดภัย

AIS จับมือ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.), กสทช., กรุงเทพมหานคร และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระดมทีมวิศวกรเข้าดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าและนำลงใต้ดิน บริเวณถนนวิทยุ ตั้งแต่แยกวิทยุ ถึงแยกเพลินจิต ทั้งสองฝั่ง ตลอดแนวถนน การดำเนินงานในครั้งนี้ มุ่งเน้นไปที่ความปลอดภัยของประชาชนและการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ…

7 hours ago

“Trumpism 2.0” กระแทกโลก! สกสว. ชี้ไทยต้องเร่งเครื่อง BCG Economy ดันนวัตกรรมรับมือ ตั้งเป้าปั้นไทยเป็นฮับเทคโนโลยีอาเซียน ดึงต่างชาติร่วมลงทุน

ในยุคที่ "Trumpism" กำลังเขย่าวงการโลกอีกครั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้จัดเวทีเสวนา “Trump 2.0 วิกฤตหรือโอกาสของระบบ ววน. ไทย” เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากนโยบาย "America…

7 hours ago

องค์กร 61% กังวลความปลอดภัยคลาวด์ ฟอร์ติเน็ตแนะใช้แพลตฟอร์มรวมศูนย์-เสริมทักษะรับมือภัยคุกคามยุคใหม่

ฟอร์ติเน็ต เปิดเผยผลสำรวจล่าสุดจากรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2568 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders ชี้ให้เห็นว่า องค์กรส่วนใหญ่กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการปกป้องข้อมูล…

7 hours ago